วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิศาสตร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ 
แนวคิด
ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งจของวิชาภูมิศาสตร์ที่มึ่งศึกษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและกระบวนการเปลี่ยนแผลงทางธรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก การศึกษาชาภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วให้เข้าใจปรากฎการณ์ต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกดียิ่งขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ ส่วนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาหาวิธีที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้สามารถสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด โดยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาพมีความสัพมันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศเกิดจากเศรษฐกิจหน่วยย่อยรวมกัน ดังน้น การศึกษาปัญหาเศรษฐกิจของสังคมหนึ่ง ๆ จำเป็นต้องพิจารณาระบบเศรษฐกิจที่เป็นส่วนร่วมและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลหรือแต่ละหน่วยผลิต ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหน่ยย่อย เพราะเศรษฐกิจหน่วย่อมย่อมมีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมและความเป็นไปของเศรษฐกิจระดับประเทศหรหือส่วนรวมของสังคม
สาระการเรียนรู้

1.ความหมายของภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาพื้นผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตผล และคน รวมทั้งการกระจายของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ หรือคือวิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์

2.เนื้อหาและโครงสร้างของวิชาภูมิศาสตร์

1. ภูมิศาสตร์ระบบ (Systematic Geography) ประกอบด้วยเนื้อหาสาระทางด้าน สภาพแวดล้อมหรือกายภาพส่วนหนึ่ง และบทบาทของมนุษย์ในการดัดแปลงปรับปรุง สภาพแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง ทั้งสองระบบย่อยนี้ต่างมีผลกระทบต่อกันและกันและแสดง ออกมาให้เห็นทางด้านพื้นที่ ในระบบกายภาพ เนื้อหาจะประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆ ที่รวมกันเป็นระบบสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น โครงสร้างทางธรณี ลักษณะอากาศ ดิน พืชพรรณ ตลอดจนสัตว์ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันทั่วไปใน ระดับอุดมศึกษา เช่น วิชาธรณีสัณฐาน ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับดิน อากาศวิทยา และอุทกภูมิศาสตร์ เป็นต้น ส่วนในระบบมนุษย์ ซึ่งในบางครั้งก็เรียกว่า ระบบสังคม หรือ ระบบวัฒนธรรม ก็ได้นั้น ประกอบด้วยปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และความเป็นอยู่ ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาในพื้นที่หนึ่ง และกลายเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์เอง เนื้อหาสาระจึงประกอบด้วย เรื่องราวต่าง ๆ เกือบทุกอย่างที่ไม่ใช่สภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ประชากร ระบบเศรษฐกิจ การอุตสาหกรรม การปกครอง และการค้า เป็นต้น

2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) คือ การเข้าถึงระบบเทศสัมพันธ์ (Spatial interaction)ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในการอธิบายผิวโลกที่มีมนุษย์อาศัยนั้น นักภูมิศาสตร์ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นขนาดต่างๆ กันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่นั้นมีหลายอย่าง โดยทั่วไปต้องรวมเอาปัจจัยทางด้านกายภาพและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน นักภูมิศาสตร์นิยมแบ่งภูมิภาคออกตามระบบอากาศ เช่น ภูมิภาคเขตร้อนชื้น ภูมิภาคเขตอบอุ่น และภูมิภาคเขตทะเลทราย เป็นต้น หรือแบ่งภูมิภาคตามกลุ่มวัฒนธรรม เช่น กลุ่มละติน-อเมริกัน หรือกลุ่มอาหรับ เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากคือการแบ่งพื้นที่ศึกษาตามรูปแบบการปกครอง คือ ยึดเอาเนื้อที่ของประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์ เพราะสะดวกในเรื่องข้อมูลภายในพื้นที่นั้น ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภูมิภาคออกตามบทบาทหน้าที่เด่นของพื้นที่นั้น เช่น ภูมิภาคของเมืองหรือเขตที่เมืองมีอิทธิพลต่อบริเวณรอบนอกตลอดจนเขตบริการ ต่าง ๆ อันจัดเป็นภูมิภาคขนาดเล็กแต่ก็มีประสิทธิภาพในการจัดพื้นที่ (Hartshorne, 1959)

3. เทคนิคต่างๆ (Techniques) เนื่องจากวิชาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจและ การบันทึกข้อมูลลงในแผนที่มาช้านาน หลักการทำแผนที่ตลอดจนศิลปะในการจัดรูปแบบข้อมูลต่างๆลงในแผนที่ได้กลายเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ ภูมิศาสตร์ เทคนิคทางวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นการคำนวณสร้างโครงข่ายแผนที่ในลักษณะต่างๆ ออกมาใช้ตามวัตถุประสงค์ ในขณะเดียวกันก็รักษาคุณสมบัติของผิวโลกที่จำลอง ไปไว้ในแผนที่ให้ใกล้เคียงความจริงที่สุดด้วย นอกจากประดิษฐ์แผนที่ด้วย โปรเจกชันแบบต่างๆ แล้ว ยังมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกราฟ กราฟแท่งหรือไดอะแกรม เป็นต้น ในสมัยปัจจุบันได้มีการผนวกเอาเทคนิคทางด้านปริมาณวิเคราะห์เข้ามาไว้ด้วย การรู้จักใช้วิชาสถิติในลักษณะต่างๆ ประกอบกันกับคอมพิวเตอร์ ได้ช่วยปรับปรุงวิธีการทางภูมิศาสตร์ให้เป็นที่เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น เทคนิคประการ

3.ภูมิศาสตร์กายภาพ
ภูมิศาสตร์กายภาพ ความหมายของวิชาภูมิศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ หรือการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับมนุษย์ ซึ่งได้มุ่งเน้นการศึกษาใน 2 องค์ประกอบคือ
3.1 ศึกษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติได้แก่ลักษณะของภูมิประเทศภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติโดยอาศัยแผนที่
3.2ศึกษากระบบการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก


ที่มา : https://wiki.stjohn.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น