วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สิ่งแวดล้อมทางสังคม

สิ่งแวดล้อมทางสังคม
     สิ่งแวดล้อมทางสังคม  หมายถึง  สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา  และเป็นสิ่งที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์
ในด้านต่าง ๆ เช่น  สิ่งของเครื่องใช้  อาคารบ้านเรือน  ถนนหนทาง  รวมทั้งวัฒนธรรมและประเพณี
     ในแต่ละสังคมจะมีความแตกต่างระหว่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมหลายเรื่อง  ดังตัวอย่างเช่น  ความแตกต่างของ
สิ่งแวดล้อมทางสังคมระหว่างครอบครัวในเรื่องต่าง ๆ เช่น  จำนวนสมาชิก  การดำเนินชีวิต  อาชีพ  เชื้อชาติ  การ
นับถือศาสนา
2.  ภาวะประชากรกับสิ่งแวดล้อม
     ในแต่ละสังคมจะประกอบด้วยสมาชิกในสังคมนั้น ๆ สมาชิกในสังคมมีทั้งชายและหญิง  ตัวอย่างเช่น
          สมาชิกในครอบครัวของฉัน มี 4 คน  ได้แก่  พ่อ  แม่  ตัวฉัน  น้องสาว
          สมาชิกในโรงเรียนของฉัน  มีประมาณ 600 คน  มีคุณครูประมาณ 50 คน  นักเรียนชายและหญิง
ประมาณ 450 คน  เจ้าหน้าที่  นักการภารโรงและอื่น ๆ ประมาณ 50 คน
          จำนวนสมาชิกในครอบครัวและโรงเรียน  อาจจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ
ต่าง ๆ เช่น
               -  จำนวนสมาชิกในครอบครัวของผมเพิ่มขึ้น  เพราะคุณแม่คลอดน้องชาย
               -  จำนวนสมาชิกในโรงเรียนของผมเพิ่มขึ้น  เพราะโรงเรียนรับสมัครคุณครูเพิ่มขึ้น
               -  จำนวนสมาชิกในโรงเรียนของหนูลดลง  เพราะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จบการศึกษา
จากโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกในครอบครัวและโรงเรียนในภาวะที่ผิดปกติ  อาจมีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตได้  เช่น
          ถ้ามีจำนวนสมาชิกในบ้านมากเกินไป
               -  อาจจะทำให้บริเวณบ้านดูคับแคบ
               -  มีปัญหาในการใช้สถานที่ต่าง ๆ เช่น  ห้องน้ำ  ห้องนอน
          ถ้าในโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนมากเกินไป
               -  ทำให้มีห้องเรียนไม่เพียงพอ
               -  ครูจัดการเรียนการสอนไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
               -  มีปัญหาในการใช้บริการสถานที่ในโรงเรียน  เช่น  ห้องน้ำ  ห้องสมุด  โรงอาหาร
          ดังนั้น  การเปลี่ยนแปลงของภาวะประชากรในสังคมแต่ละแห่งนั้น  ควรมีภาวะที่สมดุลกับสิ่งแวดล้อม
ของสังคมนั้น ๆ จึงจำทำให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคมเป็นไปอย่างเหมาะสม
3.  การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและชุมชน     สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา  ไม่ว่าจะ
เป็นในครอบครัวหรือในชุมชนประกอบดด้วยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม  ซึ่งมีประโยชน์
ต่อการดำรงชีวิตของเรา ดังนั้นเราจึงต้องร่วมใจกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ให้คงอยู่  เพื่อให้ใช้ประโยชน์
ได้นาน ๆ
     การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ        
          -  ปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
          -  ร่วมใจกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า
          -  ให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
          -  หาสิ่งอื่นที่จะใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติบางประเภทมาใช้ประโยชน์แทน
          -  อื่น ๆ
     การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางสังคม       
          -  ช่วยกันดูแลรักษาสาธารณูปโภค  เช่น  ถนน  สะพาน  ให้อยู่ในสภาพดี
          -  ไม่ขีดเขียนหรือสลักชื่อหรือข้อความใด ๆ ลงบนสิ่งของที่เป็นของส่วนรวม
          -  ช่วยกันรักษาความสะอาดของสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน
          -  ทะนุบำรุงสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีคุณค่า  เช่น  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
          -  อื่น ๆ

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.3 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : 

อักษรเจริญทัศน์ .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น