วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พัฒนาการของมนุษยชาติ 
              
                เรื่องราวของมนุษยชาติ   เ มื่ อ ป ร ะ ม า ณ ส อ ง ล้ า น ปี ก่ อ น ....................... สิ่งที่เก่าแก่ที่สุดที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์เท่าที่มีหลักฐานในปัจจุบัน คือ  โฮโม แฮบิลิส [ Homo Habilis ] ซึ่งพบในทวีปแอฟริกา หลังจากนั้นสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้ผ่านพัฒนาการทางชีววิทยาตามลำดับ จนมาถึง โฮโม ซาเปียนส์ [ Homo Sapiens] ซึ่งนับเป็นมนุษย์สมัยใหญ่รุ่นแรก มีชีวิตอยู่ประมาณ ๓๐๐๐๐๐ ปีก่อน  มานุษยวิทยาสันนิษฐานว่ามนุษย์โบราณเหล่านี้มีที่อาศัยกระจัดกระจาย ในทวีปแอฟริกาและค่อยๆ อพยพมาทางตะวันออกจนถึงบางส่วนของทวีปเอเชีย และต่อมาก็เคลื่อนย้ายไปยังยุโรปและออสเตรเลีย หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็นไปได้ว่ามนุษย์ได้พัฒนาขึ้นในภูมิภาคต่างๆของโลกในระยะเวลาใกล้เคียงกัน มนุษย์ยุคแรกดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์โดยใช้อาวุธหิน รู้จักการใช้ประโยชน์จากไฟ  และ สามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาพูด


 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบจากยุคนี้ คือ
              เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน และภาพเขียนสีตามผนังถ้ำและหน้าผา การที่มนุษย์ยุคนี้ใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคหินเก่า อิทธิพลของสภาพแวดล้อมกับ.... การพัฒนาการของมนุษยชาติ  เมื่อยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ ๓๐๐๐๐ ปีมาแล้วธารน้ำแข็งค่อยๆละลาย เริ่มจากตอนกลางของทวีปต่างๆขึ้นไปทางตอนเหนือบริเวณที่ธารน้ำแข็งละลายหมดไป จะเกิดเป็นที่ราบและป่าโปร่ง เป็นที่อาศัยของสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ เช่น แมมมอธ  กวางเรนเดียร์ ควายป่า ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์สมัยนั้น  แต่เนื่องจากบริเวณที่ราบเหล่านี้ยังมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น
ทำให้ต้องมีการประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่ม เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น มนุษย์จึงเริ่มตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยขนสัตว์  ธารน้ำแข็งที่ค่อยๆละลายถอยไปเรื่อยๆทำให้ที่ราบและป่าโปร่งแบบนี้ขยายตัวตามขึ้นไป  ในขณะที่พื้นที่ตอนล่างๆลงมาซึ่งอยู่ห่างไกลจากธารน้ำแข็งมีสภาพอบอุ่นขึ้น  และค่อยๆ กลายสภาพเป็นป่าทึบ ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำแข็งที่ละลาย  ทำให้พื้นที่ส่วนหนึ่งกลายเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สัตว์ฝูงใหญ่ที่อาศัยในภูมิประเทศแบบทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง  จำเป็นต้องอพยพไปทางเหนือและตะวันออกตามเส้นทางถดถอยของธารน้ำแข็ง มนุษย์ที่ล่าสัตว์เหล่านี้เป็นอาหารส่วนหนึ่งก็อพยพติดตามไปด้วยในขณะเดียวกัน..........  ก็มีมนุษย์กลุ่มที่ไม่ได้อพยพตามไป ......................  ซึ่งมนุษย์กลุ่มนี้ก็ต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง !!!!!!
                  ในช่วงประมาณ ๑๐๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล สัตว์ใหญ่ที่เคยเป็นอาหารของมนุษย์ได้อพยพไปจากเอเชียตะวันตกเกือบหมด มนุษย์ที่ยังอาศัยอยู่ในแถบนี้กลุ่มหนึ่งเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากอาหารทะเล ได้ประดิษฐ์เรือแบบง่ายๆ พร้อมทั้งแห และเบ็ดตกปลา ริมฝั่งทะเลบริเวณที่เหมาะกับการจอดเรือหลบพายุ จึงกลายเป็นชุมชนอยู่กับที่ของกลุ่มชาวประมงยุคแรกขึ้น ส่วนกลุ่มที่อยู่ลึกเข้ามาจากชายฝั่งก็ได้เปลี่ยนการหาอาหารจากการล่าสัตว์ใหญ่ มาเป็นการจับสัตว์น้ำและเก็บพืชผลไม้ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์  ชีวิตเช่นนี้ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น จนในที่สุดก็มากเกินกว่าจะหาอาหารตามธรรมชาติได้เพียงพอ 


การเริ่มต้นของเกษตรกรรม และผลต่อพัฒนาการของมนุษย์
 ประมาณ 8,000 – 6,500 ก่อนคริสตกาล กลุ่มคนที่อาศัยบริเวณเทือกเขาตอนเหนือและตะวันออกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ได้เริ่มเปลี่ยนจากการเก็บเกี่ยวข้าวป่าเป็นการเพาะปลูก  พืชหลักที่ปลูก คือข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์  ในระยะแรกวิธีเพาะปลูกใช้วิธีเพาะปลูกใช้วิธี โค่นแล้วเผา ( Slash and burn ) ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่แตกต่างจากการล่าสัตว์คือ ขวาน สำหรับตัดต้นไม้ จอบสำหรับเกลี่ยใบไม้ และเคียวสำหรับเก็บเกี่ยว จอบอาจทำจากไม้ และเคียวก็อาจดัดแปลงจากเครื่องมือที่ใช้ตัดแซะซากสัตว์ แต่ขวานนั้นต้องการความคมและแข็งแรงเพื่อฟันเอาไม้ หิน เหล็ก ไฟ ที่เคยใช้ทำธนู และขวานหินล่าสัตว์นั้นเปราะเกินไปสำหรับงานเช่นนี้ หินที่มาแทนที่ คือ หินอัคนีกับหินภูเขาไฟซึ่งมีเนื้อหินแข็งแกร่ง ต้องใช้เวลาและกรรมวิธีการฝนขัดกว่าจะได้เป็นเครื่องมือที่ต้องการ เครื่องมือเหล่านี้เองที่แบ่งแยกเป็นเครื่องมือ ยุคหินใหม่  
 เครื่องใช้อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเกษตร คือ ตะกร้าและหม้อดินสำหรับเก็บข้าวเปลือกและข้าวของต่างๆ รวมทั้งเก็บน้ำไว้ใช้ในที่อยู่อาศัยโดยไม่ต้องออกไปหาทุกครั้งที่ต้องการ เมื่อไม่ต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐานบ่อยๆ  คนกลุ่มนี้ก็ได้พัฒนาที่พักอาศัยจากถ้ำมาเป็นบ้านที่สร้างจากอิฐหรือดินเหนียว มีการประดิษฐ์เครื่องมือชิ้นใหญ่ๆ เช่น เครื่องทอผ้า ผลิตภาชนะหุงต้มอาหาร ตลอดจนพัฒนาวิธีปรุงอาหารเป็นการอบ และการต้มกลั่น
                ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในดินแดนอื่น  เช่น ลุ่มน้ำสินธุของอินเดียโบราณและลุ่มน้ำหวางเหอของจีน  ก็เริ่มมีการเกษตรกรรมซึ่งมีการพัฒนาการของตัวเองขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และภูมิปะเทศของแต่ละพื้นที่ ซึ่งบางส่วนได้เคยกล่าวถึงแล้วในเรื่องพัฒนาการของสังคมมนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย
 โดยสรุปแล้ว การเกษตรทำให้ผู้คนตั้งหลักแหล่งอยู่กับที่ ไม่เร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ  เหมือนสมัยที่ล่าสัตว์ทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นชุมชน มีการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ และก่อสร้างที่อยู่อาศัยถาวรขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น