วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิชาสังคมศึกษา


วิชาสังคมศึกษา

คำอธิบายสาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต

            ศึกษา วิเคราะห์  ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก และเห็นคุณค่า
ในเรื่องต่อไปนี้
            พลเมืองดี เกี่ยวกับ ความเป็นพลเมืองดี  การเป็นพลเมืองดีของสังคม และการเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ
            การเมืองการปกครอง เกี่ยวกับ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย  ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ  และความแตกต่างของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ
            คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับ คณะรัฐมนตรี  มาตรการที่สนับสนุนให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มาตรการป้องกันมิให้รัฐบาลใช้อำนาจแบบเผด็จการ และ การถ่วงดุลอำนาจระหว่างคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา
            การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและระบบศาล เกี่ยวกับ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  การถอดถอนออกจากตำแหน่ง    การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง   และระบบศาล
            กฎหมายในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย  กฎหมายที่ควรรู้  และหลักสิทธิมนุษยชน
            ภูมิปัญญาและประเพณีวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับ  ภูมิปัญญาไทย  ประเพณีวัฒนธรรมของไทย   วัฒนธรรมประเพณีและความแตกต่างในภาคต่างๆของไทย และ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านของไทย
            เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและสันติสุข



คำอธิบายสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์

            ศึกษาวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
            เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  ความสัมพันธ์ของเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
            การบริหารการจัดการทรัพยากร เกี่ยวกับ การผลิต   การบริการ  ทรัพยากร และการบริโภค
            ระบบเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ  ระบบเศรษฐกิจ   และระบบเศรษฐกิจภูมิภาคของโลก
            การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ  กลไกราคา  การควบคุมราคา  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย
            สถาบันการเงิน เกี่ยวกับ สถาบันการเงิน และ บทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร
            การพัฒนาเศรษฐกิจ  เกี่ยวกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  แผนพัฒนาประเทศของไทยในอนาคต    นโยบายและกิจกรรมของรัฐ    เศรษฐกิจพอเพียง   ระบบสหกรณ์   และโครงการบริษัทจำลอง เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์  การผลิตสินค้าและบริการการเลือกใช้ทรัพยากร  สิทธิ  การคุ้มครองผู้บริโภค  ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ  ระบบเศรษฐกิจภูมิภาคของโลก  กลไกราคา    การควบคุมราคา    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย บทบาทหน้าที่ขอองสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  นโยบายและกิจกรรมของรัฐ  เศรษฐกิจพอเพียง  ระบบสหกรณ์และโครงการบริษัทจำลอง
    



คำอธิบายสาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

            ศึกษาวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องต่อไปนี้
            การเวลากับประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์
            พัฒนาการของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆของโลก
            ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี เกี่ยวกับ   การสถาปนากรุงธนบุรี    การเมืองการปกครอง    ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
            ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   เกี่ยวกับ     การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์      การเมืองการปกครอง     ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
            ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูป   เกี่ยวกับ     การเมืองการปกครอง     ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง   เกี่ยวกับ   การเมืองการปกครอง     ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์
บุคคลสำคัญสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์
            เพื่อให้รู้และเข้าใจความสำคัญของเวลาที่มีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ จนเข้าใจถึงขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการสืบค้นเรื่องราวในอดีต   ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและร่วมกันสร้างสรรค์ความเจริญให้กับประเทศชาติต่อไป



คำอธิบายสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์

            ศึกษาวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
            แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับแผนที่    ลูกโลก   และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
            ทวีปยุโรป  เกี่ยวกับ   ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ    สังคมวัฒนธรรมของทวีปยุโรปและความสัมพันธ์ระหว่างทวีปยุโรปกับประเทศไทย
            ทวีปอเมริกาเหนือ  เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือ และความสัมพันธ์ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับประเทศไทย
        ทวีปอเมริกาใต้   เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ    สังคมวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาใต้และความสัมพันธ์ระหว่างทวีปอเมริกาใต้กับประเทศไทย
        ทวีปแอฟริกา  เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรมของทวีปแอฟริกาและความสัมพันธ์ระหว่างทวีปแอฟริกากับประเทศไทย
            เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์  ลักษณะทางภายภาพ   เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรมของทวีปยุโรป  ทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปอเมริกาใต้  ทวีปแอฟริกา รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างทวีปยุโรป  ทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปอเมริกาใต้  ทวีปแอ ฟริกากับประเทศไทย

หน้าที่พลเมือง

หน้าที่พลเมือง
       พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
      1. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
      2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
      3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
      4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
      5. การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
      6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
      7. ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ “คดในข้อ งอในกระดูก” นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
     8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองและมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อ มีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
         หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
         กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของสาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
  • ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น
            1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง 

            2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 
            3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ 
            4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวโรงเรียนและชุมชนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาขิกที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
            1. การเป็นสมาชิกที่ดีขอบครอบครัว 
            2. การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน 
            3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
            1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 
            2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 
            3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก 
            4. ความซื่อสัตย์สุจริต 
            5. ความสามัคคี 
            6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว 
            7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
            8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
2. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
3. ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
4. ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
5. การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
6. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วย โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
1. การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมมของศาสนา และหลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง
2. เผยแพร่ อบรม หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้านคนในสังคมให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน
3. สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการบอกเล่า เขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน
4. ชักชวน หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน
5. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของานรัฐในการสนับสนุนคนดี และกำจัดคนที่เป็นภัยกับสังคม การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ควรเป็นจิตสำนึกที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

หน้าที่พลเมือง

ขอขอบคุณรูปภาพประกอบ
ที่มา : http://www.thaistudyfocus.com
               

การปกครองของไทยในปัจจุบัน


            ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475


            แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามหลักการ มีการปฏิวัติรัฐประหารยึด อำนาจ ตั้งคณะรัฐบาลและกำหนดบทบัญญัติขึ้นเอง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ ใหญ่ขึ้นถึง 3 ครั้ง คือ


            ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการ อันประกอบไปด้วยประชาชน จากทุกสาขาอาชีพ ภายใต้การนำของนิสิต นักศึกษาจากทุกสถาบัน เป็นเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครองของไทย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ เกิดความหวงแหนและร่วมกันธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต และความยากลำบากของเพื่อนร่วมชาติ

เหตุการณ์ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านการกลับมาของกลุ่มอำนาจเก่า ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งไปเป็นจำนวนมาก

             และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 มีกลุ่มต่อต้านอำนาจเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยขึ้นอีก ผลจากการเรียกร้องในครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ มีดังนี้



           1. ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
           2 ตั้งเข้ามาทั้งหมด 
และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอ ขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี
        3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญญัติของกฏหมาย เพื่อให้เกิดความ ยุติธรรมแก่ประชาชน ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ศาลเป็นสถาบันอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย

 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย
 
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย
          ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แบ่งการบริหารราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ
         ๑. การบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอำนาจ คือให้อำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการขั้นสูงสุดอยู่ในส่วนกลาง โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม [รวมทั้งหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม เช่น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ] หน่วยงานเหล่านี้ปรกติจะตั้งอยู่ในส่วนกลาง คือกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
          ปัจจุบันการบริหารราชการส่วนกลาง มีดังนี้
  ระดับกระทรวง มี ๑๔ กระทรวง (รวมสำนักนายกรัฐมนตรี)
  ระดับทบวง  มี ๑ ทบวง
  ระดับกรม  มี ๑๓๖ กรม (ไม่รวมกรมต่าง ๆ ในกระทรวงกลาโหม และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากรม)

          ๒. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอำนาจ คือราชการส่วนกลางเป็นเจ้าของอำนาจ แล้วแบ่งอำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการให้แก่ภูมิภาคนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เป็นการลดขั้นตอนต่าง ๆ ลง และการปฏิบัติของภูมิภาคนั้นจะต้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของส่วนกลางหรือของรัฐบาลหรือตัวบทกฎหมายของประเทศ
          อนึ่ง อำนาจที่แบ่งให้นั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพอใจของส่วนกลาง และส่วนกลางแต่ละหน่วยก็แบ่งให้อาจไม่เท่ากัน เช่น บางกรมแบ่งการบริหารงานบุคคลให้ส่วนภูมิภาคแต่งตั้งโยกย้ายได้ตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๖ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา
          อำนาจที่แบ่งให้ไปนั้น ราชการบริหารส่วนกลางอาจจะเรียกกลับคืนเมื่อใดก็ได้
          การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๕ ระดับ คือ

          ๑. จังหวัด
          ๒. อำเภอ
          ๓. กิ่งอำเภอ
          ๔. ตำบล
          ๕. หมู่บ้าน

          กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคโดยอนุโลม ทั้งนี้ก็เพราะในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้กำหนดการบริหารส่วนภูมิภาคไว้เพียง ๒ ระดับ คือจังหวัดและอำเภอ แล้วได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘ อีกว่า "การปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่"
          กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ในปัจจุบันจัดการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรองลงมาจากอำเภอ ได้แก่ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงจัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคด้วย
          จังหวัด    มี    ๗๕      จังหวัด
          อำเภอ      มี    ๗๒๙     อำเภอ
          กิ่งอำเภอ  มี    ๘๑        กิ่งอำเภอ
          ตำบล       มี    ๗,๑๕๙  ตำบล
          หมู่บ้าน    มี   ๖๕,๑๗๐ หมู่บ้าน
          (ข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗)

          ๓. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจ คือส่วนกลางได้โอนมอบอำนาจระดับหนึ่งไปให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน กิจกรรมที่ท้องถิ่นทำได้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการพัฒนา และที่ว่า "ปกครองตนเองอย่างอิสระ" นั้น หมายถึงมีอิสระในการตัดสินใจต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาหรือการเสริมสร้างสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น เช่น ออกข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาบังคับประชาชนในเขตการปกครองของตนได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
          การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีรูปแบบดังนี้
          ๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อย่าสับสนกับจังหวัด)
          ๒. เทศบาล
          ๓. สุขาภิบาล
          ๔. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

                    ๔.๑ กรุงเทพมหานคร ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า "ให้กรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น..."  ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงไม่ใช้ "จังหวัด" ในความหมายของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
                    ๔.๒ เมืองพัทยา ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารเมืองพัทยา บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ว่า "...ให้เมืองพัทยาเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น...ดังนั้นเมืองพัทยาจึงมิใช่เทศบาล มิใช่สุขาภิบาล แต่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
                    ๔.๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ใหม่) ได้กำหนดให้สภาตำบลที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท โดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ติดต่อกัน ๓ ปี ให้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
          ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามที่กฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด อย่างสับสนกับ "ตำบล" ที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
          ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันที่เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดมี ๗๕ เทศบาล ๑๓๘ สุขาภิบาล ๑,๐๗๕ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา อย่างละ ๑ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่จัดตั้ง
ผู้เขียน : นายวิรัช  ถิรพันธุ์เมธี หัวหน้าภาควิชางานในหน้าที่ของปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง และกรรมการทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
ที่มา 
 :  http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=636

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

     ขอนำเสนอเป็น ๔ หัวข้อ ได้แก่ ความหมายและความเป็นมาของวิชาประวัติศาสตร์ การแบ่งระยะเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หลักฐานทางประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์

 
. ความหมายและความเป็นมาของวิชาประวัติศาสตร์
          ประวัติศาสตร์ (History) คือ วิชาที่ศึกษาถึงเรื่องราวในอดีตของมนุษยชาติ ที่มีความสำคัญ ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือสมัยใดสมัยหนึ่ง ซึ่งจะต้องอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างมีเหตุผล และถูกต้องตามความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการไต่สวน ค้นคว้า พิจารณา วิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนและไม่มีอคติ (unbias)
             ในประเทศไทย เริ่มใช้คำว่า ประวัติศาสตร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๔๕๙ เนื่องจาก คำว่า ตำนาน” (Legend) ที่ใช้กันมาแต่เดิมนั้นมักจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของท้องถิ่นหรือบุคคลในท้องถิ่นซึ่งมี ลักษณะที่แต่งเติมเกินกว่าความเป็นจริง และคำว่า พงศาวดาร” (Choronicle) ซึ่งจะจำกัดอยู่เฉพาะเรื่องราวของสถาบันพระมหากษัตริย์ มิได้ครอบคลุมการศึกษาเรื่องราวในอดีตอย่างแท้จริง
             คำว่า ประวัติศาสตร์มีความหมายมาจาก “History” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากคำว่า ἱστορία - historia ในภาษากรีก ที่มีความหมายถึงการค้นคว้า การไต่สวน   เพื่อเข้าใจความเป็นมาของมนุษยชาติ     การค้นคว้าเหล่านี้จะกระทำโดยอาศัยเอกสาร หรือหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต   ตลอดจนกำเนิดของโลก และสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ซึ่ง เฮโรโดตุส (Herodotus, 484-425 ก่อนคริสตกาล) บิดาของวิชาประวัติศาสตร์แห่งโลกตะวันตก เป็นผู้ใช้วิธีการศึกษาแบบนี้เป็นคนแรก จากนั้น เลโอโปล ฟอน รันเก (Ranke)   ได้นำเอาวิธีการนี้ไปพัฒนาเป็น วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical method) เพื่อการศึกษาที่เป็นระบบยิ่งขึ้น   สำหรับบิดาของประวัติศาสตร์ในโลกตะวันออกโดยเน้นที่จีนคือ ซือหม่าเชียน ผู้เขียน สื่อจี้หรือบันทึกประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องราวตั้งแต่จีนโบราณจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น
            
. การแบ่งระยะเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (Chronology)
           ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงใหญ่ๆ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์
             . สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Age)
             สมัยก่อนประวัติศาสตร์   เป็นระยะเวลาเริ่มตั้งแต่มีมนุษย์พวกแรกเกิดขึ้นในโลก คือเมื่อประมาณเกือบ ๒ ล้านปีมาแล้วเรื่อยมาจนกระทั่งถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์อักษรขึ้นมา เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น จึงกล่าวได้ว่า ในสมัยนี้มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร ฉะนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคก่อนรู้หนังสือ” (Preliterate Age) มนุษย์สมัยนี้เป็นระยะเวลาที่มนุษย์ยังมีความรู้ทางเทคโนโลยีในระดับต่ำ ซึ่งเห็นได้จากบรรดาเครื่องมือเครื่องใช้ ในการดำรงชีวิตจะเป็นแบบง่าย ๆ เช่น เครื่องมือหยาบๆที่ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ และไม้ จึงทำให้นักโบราณคดีเรียกสมัยนี้ว่า   ยุคหิน” (Age of stone) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือยุคหินนี้สามารถแยกย่อยเป็น ๔ ยุค ได้แก่
             ๑. ยุคหินแรก (Eolithic Age) อยู่ในระยะยุคน้ำแข็งแรกที่ปกคลุมโลกภาคเหนือ เมื่อ ๒พันล้านปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์เกิดขึ้นในยุคนี้ เป็นยุคของการลองผิดลองถูก ไม่รู้จักการป้องกันตนเอง ยังไม่รู้จักการนุ่งห่ม ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน โครงกระดูกมนุษย์ยุคนี้มีลักษณะโค้งคือยังยืนไม่ตรง หน้าผากแคบ
             ๒. ยุคหินเก่า (Paleolithic Age or Old Stone Age) ในยุคนี้ มนุษย์รู้จักประดิษฐ์เครื่องใช้ ที่ทำด้วยหินอย่างหยาบ ๆ ที่เรียกว่า เครื่องมือหินกะเทาะ หรือทำจากกระดูกสัตว์ ดำรงชีวิตด้วยการเก็บหาผลไม้ในป่าและล่าสัตว์เป็นอาหาร จึงต้องอพยพติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ ทำให้ไม่เกิดชุมชนขนาดใหญ่ และเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายก็จะอาศัยตามถ้ำ ชะง่อนผา เริ่มรู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้แสงสว่าง และหุงต้มอาหารท นอกจากนี้ยังพบหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีกรรมฝังศพคนตาย
             ความสามารถด้านจิตรกรรมของพวกมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon Man) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ พวกนี้มีความชำนาญในการวาดภาพ และการแกะสลัก โดยเฉพาะการวาดภาพ ตามผนังถ้ำ เช่น ภาพวัวไบซอน ซึ่งพบในถ้ำอัลตามิรา (Alta Mira) ในประเทศสเปน เป็นต้น เรื่องราวของภาพส่วนใหญ่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีวิต เช่น การล่าสัตว์ ภาพดังกล่าวมิใช่ลักษณะ ที่ต้องการให้เห็นถึงความสวยงาม แต่ต้องการเชื่อมโยงกับความเชื่อบางอย่าง หรือความหมายในทางศักดิ์สิทธิ์ หรือการบวงสรวง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจวิเศษและความโชคดีในการออกไปล่าสัตว์
             ๓. ยุคหินกลาง (Mesolithic Age or Middle Stone Age) เริ่มตั้งแต่ ๘,๐๐๐ ปีถึง ๖,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล สภาพทางภูมิศาสตร์และชีววิทยาของโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง อากาศเริ่มอบอุ่น เนื่องจากน้ำแข็งละลาย มนุษย์รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น รู้จักสร้างบ้านสร้างเรือน ที่อยู่อาศัยด้วยไม้ แทนการอาศัยอยู่ในถ้ำเหมือนสมัยก่อน เครื่องมือเครื่องใช้ ก็รู้จักปรับปรุงให้ดีขึ้นและมีมากชนิดขึ้น เริ่มรู้จักเลี้ยงสัตว์เลี้ยง คือ สุนัขซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดแรกของมนุษย์ด้วยโดยเลี้ยงไว้ช่วยระวังภัย และช่วยในการล่าสัตว์ เริ่มรู้จักทำเกษตรกรรมอย่างง่ายๆ รู้จักปั้นหม้อไหอย่างหยาบๆ ด้วยดินเหนียวและนำไปตากแห้ง
             ๔. ยุคหินใหม่ (Neolithic Age or New Stone Age) เป็นยุคที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปจากเดิมที่เคยเป็นพรานป่าล่าสัตว์ เร่ร่อนติดตามฝูงสัตว์ และอาศัยอยู่ตามถ้ำมาเป็นเกษตรกร อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่ง และผลิตอาหารได้เอง เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน ได้รับการขัดเกลาให้แหลมคมจนมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดีเรียกว่า เครื่องมือหินขัด จุดเด่นของยุคหินใหม่ อยู่ที่มนุษย์รู้จักการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา มาใช้ในบ้านเรือน และจากการที่มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกจึงรู้จักนำเส้นใยของพืชมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
                จากการที่มนุษย์หยุดเร่ร่อนและตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย มีการสร้างบ้านเรือนใกล้กับแหล่งเพาะปลูก เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันและเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ทำให้เกิดรูปแบบการปกครองชุมชน มีหัวหน้าที่มีอำนาจสิทธิ์ขาด ทำให้รูปแบบของบ้านเมืองพัฒนาจากบ้านเป็นหมู่บ้าน เป็นนครรัฐ (City State) เป็นแคว้น และเป็นอาณาจักร มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความเจริญ เพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต และเพื่อสนองตอบต่อความศรัทธา ที่มีต่อเทพเจ้าที่ตนนับถือ เช่น อนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมของมนุษย์ พบในประเทศ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ และอังกฤษ โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษนั้น คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าสร้างสร้างขึ้นเพื่อบวงสรวงสุริยเทพ เพื่อให้เกิดผลดีต่อการเพาะปลูก หรือเพื่อใช้คำนวณเวลา โดยสังเกตเงาจากดวงอาทิตย์
 

           . สมัยประวัติศาสตร์ (History Age)
             สมัยประวัติศาสตร์นี้มี ๒ มุมมองด้วยกัน มุมมองแรกคือมุมมองของนักโบราณคดี  อีกมุมมองหนึ่งเป็นมุมมองของนักประวัติศาสตร์
             มุมมองของนักโบราณคดี ถือเอาการค้นพบโลหะของมนุษย์เป็นการสิ้นสุดยุคหินและเรียกระยะเวลาหลังจากยุคหินว่า ยุคโลหะ” (The Age of Metals) ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ ๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล และสามารถแยกย่อยได้เป็น
             ๑. ยุคสัมฤทธิ์ (Bronze Age) มนุษย์รู้จักนำแร่ดีบุกและทองแดงมาผสมกันเป็นทองสัมฤทธิ์
             ๒. ยุคเหล็ก (Iron Age) มนุษย์เริ่มรู้จักนำเหล็กมาใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธ หลักฐานการใช้เหล็กนัยว่ามีมาแล้วเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว หรือ ๑,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล ในอาณาจักรบาบิโลเนีย และเริ่มเจริญรุ่งเรืองถึงขนาดเป็นเครื่องยนต์กลไกใช้ใช้แทนแรงคน แรงสัตว์ เจริญเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
            

             มุมมองของนักประวัติศาสตร์ ถือเอาการที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร ขึ้นใช้เป็นเครื่องสื่อความหมายและบันทึกเรื่องราวต่างๆ   เมื่อ ๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล (อยู่ในยุคสัมฤทธิ์)     การที่มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ตัวอักษรนี้เอง     จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุครู้หนังสือ” (Literate Age) แยกย่อยได้ดังนี้
             ๑. สมัยโบราณ (Ancient Age) เริ่มตั้งแต่ ๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยนี้มนุษย์ได้ตั้งหลักแหล่งเป็นแว่นแคว้นหรือหรืออาณาจักรแล้ว มีตัวอักษรและอารยธรรมแบบคนเมือง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามแหล่งอุดมสมบูรณ์ คือ ลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล ได้แก่ เมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส มีอาณาจักรสำคัญ เช่น สุเมเรียน บาบิโลเนีย ฟินิเชีย อัสซิเรีย คาลเดีย เปอร์เซีย)   อียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์)   อินเดีย (ลุ่มแม่น้ำสินธุ คงคา)   จีน (ลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ฉางเจียง)   กรีก โรมัน (ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณสิ้นสุดลง เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย จากการถูกอนารยชน เผ่าติวโตนิครุกรานเมื่อ ค.ศ. ๔๗๖

             ๒. สมัยกลาง (Medieval Age) เริ่มเมื่อ ค.ศ. ๔๗๖   โดยเริ่มเมื่อชนชาติต่างๆในยุโรป ฟื้นตัวจากอำนาจการรุกรานของบรรดาอนารยชนเผ่าต่าง ๆ และเริ่มก่อตั้งเป็นอาราจักรต่าง ๆ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เช่น พวกแองโกลแซกซอนตั้งอาณาจักรอังกฤษ พวกฟรังก์ตั้งอาณาจักรฝรั่งเศส พวกเยอรมันตั้งอาณาจักรปรัสเซีย พวกมัสโกวีตั้งอาณาจักรรุสเซีย เป็นต้น
             สมัยนี้คริสตศาสนาเริ่มขยายอิทธิพลครอบคลุมไปทั่วยุโรป ศาสนาจักรซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่องค์สันตะปาปามีอำนาจและอิทธิพลสูง ส่วนทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเป็นระบบ ศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)   ในปลายสมัยกลางเริ่มมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของกรีกและโรมันที่เรียกว่า สมัยเรอแนสซองส์” (Renaissance)
            
             ๓. สมัยใหม่ (Modern Age) ปีเริ่มต้นสมัยใหม่นี้ยังคงมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ นักประวัติศาสตร์บางท่านถือเอาปี ค.ศ. ๑๔๕๓ คือปีที่ โรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์) ถูกพวกเตอร์กแห่งจักรวรรดิออตโตมันเข้าทำลาย     บางท่านถือเอา ค.ศ. ๑๔๙๒   อันเป็นปีที่ โคลัมบัส ค้นพบโลกใหม่ บางท่านถือเอา ค.ศ. ๑๖๔๙ อันเป็นปีที่ประเทศอังกฤษ เปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์มาเป็นการปกครองที่สามัญชนเข้ามามีอำนาจสูงสุด คือโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) ตั้งตนเป็นผู้รักษาประเทศ (Protector of Republic Called the Commonwealth) แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ก็ถือว่า ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เริ่มต้นราวศตวรรษที่ ๑๕
             ในสมัยใหม่นี้ คริสต์ศาสนาเสื่อมอำนาจลง เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) อันนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)   ระบบศักดินาสวามิภักดิ์และระบอบราชาธิปไตยเสื่อมอำนาจลง จนเกิดการปฏิวัติล้มล้างสถาบันกษัตริย์ในฝรั่งเศส (ค.ศ. ๑๗๘๙)   ระยะนี้อุดมการณ์ประชาธิปไตยแพร่หลายอย่างมาก เป็นผลให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยหลายแห่ง เช่น การปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ. ๑๗๗๖)   เกิดรัฐประชาชาติ (ประเทศ) เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) ในอังกฤษ   ฝรั่งเศส   สเปน   ฮอลันดา   โปรตุเกส   ญี่ปุ่น ซึ่งต่างแย่งชิงและแผ่แสนยานุภาพไปยัง เอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา จนนำไปสู่ความขัดแย้งและเกิดเป็น สงครามโลกครั้งที่ ๑ (ค.ศ. ๑๙๑๔๑๙๑๘) และสงครามโลกครั้งที่ ๒ (๑๙๓๙๑๙๔๕) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่สิ้นสุดลงตรงนี้

             . ประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันหรือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (Present Age or Contemporary Age) เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โลกในยุคนี้เริ่มเข้าสู่ยุคสงคราเย็น (Cold War)   ระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา ความแตกต่างของอุดมการณ์การเมือง   ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทธิประชาธิปไตย   นำไปสู่ความตึงเครียดบนเวทีการเมืองโลกนานกว่า ๔๕ ปี จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๙๐๑๙๙๑ บรรดาสาธารณรัฐต่างๆที่รวมอยู่ในสหภาพโซเวียตพากันเรียกร้องเอกราช ต้องการปกครองตนเอง   เกิดเหตุการณ์วุ่นวายไปทั่วประเทศ   เมื่อประกอบกับการก่อรัฐประหารรัฐบาล นายมิคาอิล กอร์บาชอฟซึ่งแม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้บรรดาสาธารณรัฐต่าง ๆ ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชโดยผนึกกำลังกันเป็นเครือจักรภพรัฐเอกราช (The Commonwealth of Independent State : CIS) จนนายกอร์บาชอฟลาออก   และถือว่าเป็นการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและสิ้นสุดของสงครามเย็นด้วย หลังจากนั้นมาสหรัฐอเมริกาก็มีบทบาทโดดเด่น บนเวทีการเมืองโลกเพียงผู้เดียว เรียกว่า เอกะอภิมหาอำนาจ (Uni-Superpower) และด้วยการที่สหรัฐ สนับสนุนอิสราเอลในปัญหาปาเลสไตน์ทำให้ชาวอาหรับโกรธแค้นสหรัฐ จึงเกิดการก่อวินาศกรรมจี้เครื่องบินพุ่งชนตึก World Trade Center ในนครนิวยอร์ค ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของเครือข่ายก่อการร้าย อัล กอย ดะห์ ของนายอุสมะห์ บิน ลาดิน (Usama Bin Ladin)   สหรัฐจึงตอบโต้โดยโจมตีอาฟกานิสถาน ซึ่งเป็นชาติที่สนับสนุน นายบินลาดิน และสามารถล้มล้างรัฐบาลทอลีบัน (Taliban) ลงได้ เรียกว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” (War against Terrorism) นับเป็นการเปิดฉากของการต่อสู่กับชาติอาหรับซึ่งเป็นศัตรูตัวใหม่ของสหรัฐอเมริกา
 


. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical Sources)
          หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึกของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น


             การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
          
   . แบ่งตามยุคสมัย            
๑. หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ  ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า มุขปาฐะ
                ๒. หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง  มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ประณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน
             ๒. แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
                ๑. หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
                ๒. หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า มุขปาฐะ หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์   ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร
             ๓. แบ่งตามลำดับความสำคัญ 
                ๑. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง     หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ    ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร   เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุ กฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนสีผนังถ้ำ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ เจดีย์
                ๒. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร
                นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ   เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ


. วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
          วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการ (Process) ในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้       
          . การกำหนดเป้าหมายในการศึกษา   ผู้ศึกษาต้องมีความต้องการที่ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร สมัยใด และเพราะเหตุใด
             ๒. การค้นหา รวบรวมและคัดเลือกหลักฐาน   เป็นขั้นตอนที่ต้องกระทำตั้งแต่แรกเริ่ม และตลอดระยะเวลาที่ค้นคว้าโดยจะต้องรวบรวม คัดเลือก และติดตามหลักฐานที่อาจจะมีการค้นพบใหม่หรือตีความใหม่อยู่เสมอ
           ๓. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐาน เป็นขั้นมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอมซึ่งเรียกว่า การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก และวิเคราะห์ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด ซึ่งเรียกว่า การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน
             . การตีความ (Interpretation) เป็นขั้นการตีความ เพื่อพยายามค้นหาความหมาย และความสำคัญแท้จริงที่ปรากฏในหลักฐาน รวมทั้งความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงเพื่อสามารถนำไปใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ หรือสามารถใช้อธิบายข้อสมมติฐานที่ตั้งขึ้น
             ๕. การสังเคราะห์หรือเรียบเรียงเรื่องราว (Synthesis)   เป็นขั้นของการนำข้อมูลที่วิเคราะห์ และตีความแล้ว มาเรียบเรียงเข้าด้วยกันในลักษณะที่สัมพันธ์กันอย่างมีกฎเกณฑ์ และเป็นเหตุเป็นผลน่าเชื่อถือ