วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

     ขอนำเสนอเป็น ๔ หัวข้อ ได้แก่ ความหมายและความเป็นมาของวิชาประวัติศาสตร์ การแบ่งระยะเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หลักฐานทางประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์

 
. ความหมายและความเป็นมาของวิชาประวัติศาสตร์
          ประวัติศาสตร์ (History) คือ วิชาที่ศึกษาถึงเรื่องราวในอดีตของมนุษยชาติ ที่มีความสำคัญ ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือสมัยใดสมัยหนึ่ง ซึ่งจะต้องอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างมีเหตุผล และถูกต้องตามความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการไต่สวน ค้นคว้า พิจารณา วิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนและไม่มีอคติ (unbias)
             ในประเทศไทย เริ่มใช้คำว่า ประวัติศาสตร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๔๕๙ เนื่องจาก คำว่า ตำนาน” (Legend) ที่ใช้กันมาแต่เดิมนั้นมักจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของท้องถิ่นหรือบุคคลในท้องถิ่นซึ่งมี ลักษณะที่แต่งเติมเกินกว่าความเป็นจริง และคำว่า พงศาวดาร” (Choronicle) ซึ่งจะจำกัดอยู่เฉพาะเรื่องราวของสถาบันพระมหากษัตริย์ มิได้ครอบคลุมการศึกษาเรื่องราวในอดีตอย่างแท้จริง
             คำว่า ประวัติศาสตร์มีความหมายมาจาก “History” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากคำว่า ἱστορία - historia ในภาษากรีก ที่มีความหมายถึงการค้นคว้า การไต่สวน   เพื่อเข้าใจความเป็นมาของมนุษยชาติ     การค้นคว้าเหล่านี้จะกระทำโดยอาศัยเอกสาร หรือหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต   ตลอดจนกำเนิดของโลก และสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ซึ่ง เฮโรโดตุส (Herodotus, 484-425 ก่อนคริสตกาล) บิดาของวิชาประวัติศาสตร์แห่งโลกตะวันตก เป็นผู้ใช้วิธีการศึกษาแบบนี้เป็นคนแรก จากนั้น เลโอโปล ฟอน รันเก (Ranke)   ได้นำเอาวิธีการนี้ไปพัฒนาเป็น วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical method) เพื่อการศึกษาที่เป็นระบบยิ่งขึ้น   สำหรับบิดาของประวัติศาสตร์ในโลกตะวันออกโดยเน้นที่จีนคือ ซือหม่าเชียน ผู้เขียน สื่อจี้หรือบันทึกประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องราวตั้งแต่จีนโบราณจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น
            
. การแบ่งระยะเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (Chronology)
           ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงใหญ่ๆ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์
             . สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Age)
             สมัยก่อนประวัติศาสตร์   เป็นระยะเวลาเริ่มตั้งแต่มีมนุษย์พวกแรกเกิดขึ้นในโลก คือเมื่อประมาณเกือบ ๒ ล้านปีมาแล้วเรื่อยมาจนกระทั่งถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์อักษรขึ้นมา เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น จึงกล่าวได้ว่า ในสมัยนี้มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร ฉะนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคก่อนรู้หนังสือ” (Preliterate Age) มนุษย์สมัยนี้เป็นระยะเวลาที่มนุษย์ยังมีความรู้ทางเทคโนโลยีในระดับต่ำ ซึ่งเห็นได้จากบรรดาเครื่องมือเครื่องใช้ ในการดำรงชีวิตจะเป็นแบบง่าย ๆ เช่น เครื่องมือหยาบๆที่ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ และไม้ จึงทำให้นักโบราณคดีเรียกสมัยนี้ว่า   ยุคหิน” (Age of stone) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือยุคหินนี้สามารถแยกย่อยเป็น ๔ ยุค ได้แก่
             ๑. ยุคหินแรก (Eolithic Age) อยู่ในระยะยุคน้ำแข็งแรกที่ปกคลุมโลกภาคเหนือ เมื่อ ๒พันล้านปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์เกิดขึ้นในยุคนี้ เป็นยุคของการลองผิดลองถูก ไม่รู้จักการป้องกันตนเอง ยังไม่รู้จักการนุ่งห่ม ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน โครงกระดูกมนุษย์ยุคนี้มีลักษณะโค้งคือยังยืนไม่ตรง หน้าผากแคบ
             ๒. ยุคหินเก่า (Paleolithic Age or Old Stone Age) ในยุคนี้ มนุษย์รู้จักประดิษฐ์เครื่องใช้ ที่ทำด้วยหินอย่างหยาบ ๆ ที่เรียกว่า เครื่องมือหินกะเทาะ หรือทำจากกระดูกสัตว์ ดำรงชีวิตด้วยการเก็บหาผลไม้ในป่าและล่าสัตว์เป็นอาหาร จึงต้องอพยพติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ ทำให้ไม่เกิดชุมชนขนาดใหญ่ และเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายก็จะอาศัยตามถ้ำ ชะง่อนผา เริ่มรู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้แสงสว่าง และหุงต้มอาหารท นอกจากนี้ยังพบหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีกรรมฝังศพคนตาย
             ความสามารถด้านจิตรกรรมของพวกมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon Man) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ พวกนี้มีความชำนาญในการวาดภาพ และการแกะสลัก โดยเฉพาะการวาดภาพ ตามผนังถ้ำ เช่น ภาพวัวไบซอน ซึ่งพบในถ้ำอัลตามิรา (Alta Mira) ในประเทศสเปน เป็นต้น เรื่องราวของภาพส่วนใหญ่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีวิต เช่น การล่าสัตว์ ภาพดังกล่าวมิใช่ลักษณะ ที่ต้องการให้เห็นถึงความสวยงาม แต่ต้องการเชื่อมโยงกับความเชื่อบางอย่าง หรือความหมายในทางศักดิ์สิทธิ์ หรือการบวงสรวง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจวิเศษและความโชคดีในการออกไปล่าสัตว์
             ๓. ยุคหินกลาง (Mesolithic Age or Middle Stone Age) เริ่มตั้งแต่ ๘,๐๐๐ ปีถึง ๖,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล สภาพทางภูมิศาสตร์และชีววิทยาของโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง อากาศเริ่มอบอุ่น เนื่องจากน้ำแข็งละลาย มนุษย์รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น รู้จักสร้างบ้านสร้างเรือน ที่อยู่อาศัยด้วยไม้ แทนการอาศัยอยู่ในถ้ำเหมือนสมัยก่อน เครื่องมือเครื่องใช้ ก็รู้จักปรับปรุงให้ดีขึ้นและมีมากชนิดขึ้น เริ่มรู้จักเลี้ยงสัตว์เลี้ยง คือ สุนัขซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดแรกของมนุษย์ด้วยโดยเลี้ยงไว้ช่วยระวังภัย และช่วยในการล่าสัตว์ เริ่มรู้จักทำเกษตรกรรมอย่างง่ายๆ รู้จักปั้นหม้อไหอย่างหยาบๆ ด้วยดินเหนียวและนำไปตากแห้ง
             ๔. ยุคหินใหม่ (Neolithic Age or New Stone Age) เป็นยุคที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปจากเดิมที่เคยเป็นพรานป่าล่าสัตว์ เร่ร่อนติดตามฝูงสัตว์ และอาศัยอยู่ตามถ้ำมาเป็นเกษตรกร อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่ง และผลิตอาหารได้เอง เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน ได้รับการขัดเกลาให้แหลมคมจนมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดีเรียกว่า เครื่องมือหินขัด จุดเด่นของยุคหินใหม่ อยู่ที่มนุษย์รู้จักการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา มาใช้ในบ้านเรือน และจากการที่มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกจึงรู้จักนำเส้นใยของพืชมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
                จากการที่มนุษย์หยุดเร่ร่อนและตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย มีการสร้างบ้านเรือนใกล้กับแหล่งเพาะปลูก เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันและเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ทำให้เกิดรูปแบบการปกครองชุมชน มีหัวหน้าที่มีอำนาจสิทธิ์ขาด ทำให้รูปแบบของบ้านเมืองพัฒนาจากบ้านเป็นหมู่บ้าน เป็นนครรัฐ (City State) เป็นแคว้น และเป็นอาณาจักร มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความเจริญ เพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต และเพื่อสนองตอบต่อความศรัทธา ที่มีต่อเทพเจ้าที่ตนนับถือ เช่น อนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมของมนุษย์ พบในประเทศ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ และอังกฤษ โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษนั้น คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าสร้างสร้างขึ้นเพื่อบวงสรวงสุริยเทพ เพื่อให้เกิดผลดีต่อการเพาะปลูก หรือเพื่อใช้คำนวณเวลา โดยสังเกตเงาจากดวงอาทิตย์
 

           . สมัยประวัติศาสตร์ (History Age)
             สมัยประวัติศาสตร์นี้มี ๒ มุมมองด้วยกัน มุมมองแรกคือมุมมองของนักโบราณคดี  อีกมุมมองหนึ่งเป็นมุมมองของนักประวัติศาสตร์
             มุมมองของนักโบราณคดี ถือเอาการค้นพบโลหะของมนุษย์เป็นการสิ้นสุดยุคหินและเรียกระยะเวลาหลังจากยุคหินว่า ยุคโลหะ” (The Age of Metals) ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ ๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล และสามารถแยกย่อยได้เป็น
             ๑. ยุคสัมฤทธิ์ (Bronze Age) มนุษย์รู้จักนำแร่ดีบุกและทองแดงมาผสมกันเป็นทองสัมฤทธิ์
             ๒. ยุคเหล็ก (Iron Age) มนุษย์เริ่มรู้จักนำเหล็กมาใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธ หลักฐานการใช้เหล็กนัยว่ามีมาแล้วเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว หรือ ๑,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล ในอาณาจักรบาบิโลเนีย และเริ่มเจริญรุ่งเรืองถึงขนาดเป็นเครื่องยนต์กลไกใช้ใช้แทนแรงคน แรงสัตว์ เจริญเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
            

             มุมมองของนักประวัติศาสตร์ ถือเอาการที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร ขึ้นใช้เป็นเครื่องสื่อความหมายและบันทึกเรื่องราวต่างๆ   เมื่อ ๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล (อยู่ในยุคสัมฤทธิ์)     การที่มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ตัวอักษรนี้เอง     จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุครู้หนังสือ” (Literate Age) แยกย่อยได้ดังนี้
             ๑. สมัยโบราณ (Ancient Age) เริ่มตั้งแต่ ๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยนี้มนุษย์ได้ตั้งหลักแหล่งเป็นแว่นแคว้นหรือหรืออาณาจักรแล้ว มีตัวอักษรและอารยธรรมแบบคนเมือง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามแหล่งอุดมสมบูรณ์ คือ ลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล ได้แก่ เมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส มีอาณาจักรสำคัญ เช่น สุเมเรียน บาบิโลเนีย ฟินิเชีย อัสซิเรีย คาลเดีย เปอร์เซีย)   อียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์)   อินเดีย (ลุ่มแม่น้ำสินธุ คงคา)   จีน (ลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ฉางเจียง)   กรีก โรมัน (ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณสิ้นสุดลง เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย จากการถูกอนารยชน เผ่าติวโตนิครุกรานเมื่อ ค.ศ. ๔๗๖

             ๒. สมัยกลาง (Medieval Age) เริ่มเมื่อ ค.ศ. ๔๗๖   โดยเริ่มเมื่อชนชาติต่างๆในยุโรป ฟื้นตัวจากอำนาจการรุกรานของบรรดาอนารยชนเผ่าต่าง ๆ และเริ่มก่อตั้งเป็นอาราจักรต่าง ๆ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เช่น พวกแองโกลแซกซอนตั้งอาณาจักรอังกฤษ พวกฟรังก์ตั้งอาณาจักรฝรั่งเศส พวกเยอรมันตั้งอาณาจักรปรัสเซีย พวกมัสโกวีตั้งอาณาจักรรุสเซีย เป็นต้น
             สมัยนี้คริสตศาสนาเริ่มขยายอิทธิพลครอบคลุมไปทั่วยุโรป ศาสนาจักรซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่องค์สันตะปาปามีอำนาจและอิทธิพลสูง ส่วนทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเป็นระบบ ศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)   ในปลายสมัยกลางเริ่มมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของกรีกและโรมันที่เรียกว่า สมัยเรอแนสซองส์” (Renaissance)
            
             ๓. สมัยใหม่ (Modern Age) ปีเริ่มต้นสมัยใหม่นี้ยังคงมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ นักประวัติศาสตร์บางท่านถือเอาปี ค.ศ. ๑๔๕๓ คือปีที่ โรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์) ถูกพวกเตอร์กแห่งจักรวรรดิออตโตมันเข้าทำลาย     บางท่านถือเอา ค.ศ. ๑๔๙๒   อันเป็นปีที่ โคลัมบัส ค้นพบโลกใหม่ บางท่านถือเอา ค.ศ. ๑๖๔๙ อันเป็นปีที่ประเทศอังกฤษ เปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์มาเป็นการปกครองที่สามัญชนเข้ามามีอำนาจสูงสุด คือโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) ตั้งตนเป็นผู้รักษาประเทศ (Protector of Republic Called the Commonwealth) แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ก็ถือว่า ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เริ่มต้นราวศตวรรษที่ ๑๕
             ในสมัยใหม่นี้ คริสต์ศาสนาเสื่อมอำนาจลง เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) อันนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)   ระบบศักดินาสวามิภักดิ์และระบอบราชาธิปไตยเสื่อมอำนาจลง จนเกิดการปฏิวัติล้มล้างสถาบันกษัตริย์ในฝรั่งเศส (ค.ศ. ๑๗๘๙)   ระยะนี้อุดมการณ์ประชาธิปไตยแพร่หลายอย่างมาก เป็นผลให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยหลายแห่ง เช่น การปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ. ๑๗๗๖)   เกิดรัฐประชาชาติ (ประเทศ) เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) ในอังกฤษ   ฝรั่งเศส   สเปน   ฮอลันดา   โปรตุเกส   ญี่ปุ่น ซึ่งต่างแย่งชิงและแผ่แสนยานุภาพไปยัง เอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา จนนำไปสู่ความขัดแย้งและเกิดเป็น สงครามโลกครั้งที่ ๑ (ค.ศ. ๑๙๑๔๑๙๑๘) และสงครามโลกครั้งที่ ๒ (๑๙๓๙๑๙๔๕) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่สิ้นสุดลงตรงนี้

             . ประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันหรือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (Present Age or Contemporary Age) เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โลกในยุคนี้เริ่มเข้าสู่ยุคสงคราเย็น (Cold War)   ระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา ความแตกต่างของอุดมการณ์การเมือง   ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทธิประชาธิปไตย   นำไปสู่ความตึงเครียดบนเวทีการเมืองโลกนานกว่า ๔๕ ปี จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๙๐๑๙๙๑ บรรดาสาธารณรัฐต่างๆที่รวมอยู่ในสหภาพโซเวียตพากันเรียกร้องเอกราช ต้องการปกครองตนเอง   เกิดเหตุการณ์วุ่นวายไปทั่วประเทศ   เมื่อประกอบกับการก่อรัฐประหารรัฐบาล นายมิคาอิล กอร์บาชอฟซึ่งแม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้บรรดาสาธารณรัฐต่าง ๆ ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชโดยผนึกกำลังกันเป็นเครือจักรภพรัฐเอกราช (The Commonwealth of Independent State : CIS) จนนายกอร์บาชอฟลาออก   และถือว่าเป็นการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและสิ้นสุดของสงครามเย็นด้วย หลังจากนั้นมาสหรัฐอเมริกาก็มีบทบาทโดดเด่น บนเวทีการเมืองโลกเพียงผู้เดียว เรียกว่า เอกะอภิมหาอำนาจ (Uni-Superpower) และด้วยการที่สหรัฐ สนับสนุนอิสราเอลในปัญหาปาเลสไตน์ทำให้ชาวอาหรับโกรธแค้นสหรัฐ จึงเกิดการก่อวินาศกรรมจี้เครื่องบินพุ่งชนตึก World Trade Center ในนครนิวยอร์ค ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของเครือข่ายก่อการร้าย อัล กอย ดะห์ ของนายอุสมะห์ บิน ลาดิน (Usama Bin Ladin)   สหรัฐจึงตอบโต้โดยโจมตีอาฟกานิสถาน ซึ่งเป็นชาติที่สนับสนุน นายบินลาดิน และสามารถล้มล้างรัฐบาลทอลีบัน (Taliban) ลงได้ เรียกว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” (War against Terrorism) นับเป็นการเปิดฉากของการต่อสู่กับชาติอาหรับซึ่งเป็นศัตรูตัวใหม่ของสหรัฐอเมริกา
 


. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical Sources)
          หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึกของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น


             การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
          
   . แบ่งตามยุคสมัย            
๑. หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ  ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า มุขปาฐะ
                ๒. หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง  มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ประณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน
             ๒. แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
                ๑. หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
                ๒. หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า มุขปาฐะ หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์   ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร
             ๓. แบ่งตามลำดับความสำคัญ 
                ๑. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง     หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ    ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร   เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุ กฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนสีผนังถ้ำ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ เจดีย์
                ๒. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร
                นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ   เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ


. วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
          วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการ (Process) ในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้       
          . การกำหนดเป้าหมายในการศึกษา   ผู้ศึกษาต้องมีความต้องการที่ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร สมัยใด และเพราะเหตุใด
             ๒. การค้นหา รวบรวมและคัดเลือกหลักฐาน   เป็นขั้นตอนที่ต้องกระทำตั้งแต่แรกเริ่ม และตลอดระยะเวลาที่ค้นคว้าโดยจะต้องรวบรวม คัดเลือก และติดตามหลักฐานที่อาจจะมีการค้นพบใหม่หรือตีความใหม่อยู่เสมอ
           ๓. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐาน เป็นขั้นมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอมซึ่งเรียกว่า การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก และวิเคราะห์ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด ซึ่งเรียกว่า การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน
             . การตีความ (Interpretation) เป็นขั้นการตีความ เพื่อพยายามค้นหาความหมาย และความสำคัญแท้จริงที่ปรากฏในหลักฐาน รวมทั้งความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงเพื่อสามารถนำไปใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ หรือสามารถใช้อธิบายข้อสมมติฐานที่ตั้งขึ้น
             ๕. การสังเคราะห์หรือเรียบเรียงเรื่องราว (Synthesis)   เป็นขั้นของการนำข้อมูลที่วิเคราะห์ และตีความแล้ว มาเรียบเรียงเข้าด้วยกันในลักษณะที่สัมพันธ์กันอย่างมีกฎเกณฑ์ และเป็นเหตุเป็นผลน่าเชื่อถือ


พัฒนาการของมนุษยชาติ 
              
                เรื่องราวของมนุษยชาติ   เ มื่ อ ป ร ะ ม า ณ ส อ ง ล้ า น ปี ก่ อ น ....................... สิ่งที่เก่าแก่ที่สุดที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์เท่าที่มีหลักฐานในปัจจุบัน คือ  โฮโม แฮบิลิส [ Homo Habilis ] ซึ่งพบในทวีปแอฟริกา หลังจากนั้นสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้ผ่านพัฒนาการทางชีววิทยาตามลำดับ จนมาถึง โฮโม ซาเปียนส์ [ Homo Sapiens] ซึ่งนับเป็นมนุษย์สมัยใหญ่รุ่นแรก มีชีวิตอยู่ประมาณ ๓๐๐๐๐๐ ปีก่อน  มานุษยวิทยาสันนิษฐานว่ามนุษย์โบราณเหล่านี้มีที่อาศัยกระจัดกระจาย ในทวีปแอฟริกาและค่อยๆ อพยพมาทางตะวันออกจนถึงบางส่วนของทวีปเอเชีย และต่อมาก็เคลื่อนย้ายไปยังยุโรปและออสเตรเลีย หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็นไปได้ว่ามนุษย์ได้พัฒนาขึ้นในภูมิภาคต่างๆของโลกในระยะเวลาใกล้เคียงกัน มนุษย์ยุคแรกดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์โดยใช้อาวุธหิน รู้จักการใช้ประโยชน์จากไฟ  และ สามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาพูด


 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบจากยุคนี้ คือ
              เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน และภาพเขียนสีตามผนังถ้ำและหน้าผา การที่มนุษย์ยุคนี้ใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคหินเก่า อิทธิพลของสภาพแวดล้อมกับ.... การพัฒนาการของมนุษยชาติ  เมื่อยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ ๓๐๐๐๐ ปีมาแล้วธารน้ำแข็งค่อยๆละลาย เริ่มจากตอนกลางของทวีปต่างๆขึ้นไปทางตอนเหนือบริเวณที่ธารน้ำแข็งละลายหมดไป จะเกิดเป็นที่ราบและป่าโปร่ง เป็นที่อาศัยของสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ เช่น แมมมอธ  กวางเรนเดียร์ ควายป่า ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์สมัยนั้น  แต่เนื่องจากบริเวณที่ราบเหล่านี้ยังมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น
ทำให้ต้องมีการประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่ม เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น มนุษย์จึงเริ่มตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยขนสัตว์  ธารน้ำแข็งที่ค่อยๆละลายถอยไปเรื่อยๆทำให้ที่ราบและป่าโปร่งแบบนี้ขยายตัวตามขึ้นไป  ในขณะที่พื้นที่ตอนล่างๆลงมาซึ่งอยู่ห่างไกลจากธารน้ำแข็งมีสภาพอบอุ่นขึ้น  และค่อยๆ กลายสภาพเป็นป่าทึบ ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำแข็งที่ละลาย  ทำให้พื้นที่ส่วนหนึ่งกลายเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สัตว์ฝูงใหญ่ที่อาศัยในภูมิประเทศแบบทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง  จำเป็นต้องอพยพไปทางเหนือและตะวันออกตามเส้นทางถดถอยของธารน้ำแข็ง มนุษย์ที่ล่าสัตว์เหล่านี้เป็นอาหารส่วนหนึ่งก็อพยพติดตามไปด้วยในขณะเดียวกัน..........  ก็มีมนุษย์กลุ่มที่ไม่ได้อพยพตามไป ......................  ซึ่งมนุษย์กลุ่มนี้ก็ต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง !!!!!!
                  ในช่วงประมาณ ๑๐๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล สัตว์ใหญ่ที่เคยเป็นอาหารของมนุษย์ได้อพยพไปจากเอเชียตะวันตกเกือบหมด มนุษย์ที่ยังอาศัยอยู่ในแถบนี้กลุ่มหนึ่งเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากอาหารทะเล ได้ประดิษฐ์เรือแบบง่ายๆ พร้อมทั้งแห และเบ็ดตกปลา ริมฝั่งทะเลบริเวณที่เหมาะกับการจอดเรือหลบพายุ จึงกลายเป็นชุมชนอยู่กับที่ของกลุ่มชาวประมงยุคแรกขึ้น ส่วนกลุ่มที่อยู่ลึกเข้ามาจากชายฝั่งก็ได้เปลี่ยนการหาอาหารจากการล่าสัตว์ใหญ่ มาเป็นการจับสัตว์น้ำและเก็บพืชผลไม้ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์  ชีวิตเช่นนี้ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น จนในที่สุดก็มากเกินกว่าจะหาอาหารตามธรรมชาติได้เพียงพอ 


การเริ่มต้นของเกษตรกรรม และผลต่อพัฒนาการของมนุษย์
 ประมาณ 8,000 – 6,500 ก่อนคริสตกาล กลุ่มคนที่อาศัยบริเวณเทือกเขาตอนเหนือและตะวันออกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ได้เริ่มเปลี่ยนจากการเก็บเกี่ยวข้าวป่าเป็นการเพาะปลูก  พืชหลักที่ปลูก คือข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์  ในระยะแรกวิธีเพาะปลูกใช้วิธีเพาะปลูกใช้วิธี โค่นแล้วเผา ( Slash and burn ) ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่แตกต่างจากการล่าสัตว์คือ ขวาน สำหรับตัดต้นไม้ จอบสำหรับเกลี่ยใบไม้ และเคียวสำหรับเก็บเกี่ยว จอบอาจทำจากไม้ และเคียวก็อาจดัดแปลงจากเครื่องมือที่ใช้ตัดแซะซากสัตว์ แต่ขวานนั้นต้องการความคมและแข็งแรงเพื่อฟันเอาไม้ หิน เหล็ก ไฟ ที่เคยใช้ทำธนู และขวานหินล่าสัตว์นั้นเปราะเกินไปสำหรับงานเช่นนี้ หินที่มาแทนที่ คือ หินอัคนีกับหินภูเขาไฟซึ่งมีเนื้อหินแข็งแกร่ง ต้องใช้เวลาและกรรมวิธีการฝนขัดกว่าจะได้เป็นเครื่องมือที่ต้องการ เครื่องมือเหล่านี้เองที่แบ่งแยกเป็นเครื่องมือ ยุคหินใหม่  
 เครื่องใช้อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเกษตร คือ ตะกร้าและหม้อดินสำหรับเก็บข้าวเปลือกและข้าวของต่างๆ รวมทั้งเก็บน้ำไว้ใช้ในที่อยู่อาศัยโดยไม่ต้องออกไปหาทุกครั้งที่ต้องการ เมื่อไม่ต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐานบ่อยๆ  คนกลุ่มนี้ก็ได้พัฒนาที่พักอาศัยจากถ้ำมาเป็นบ้านที่สร้างจากอิฐหรือดินเหนียว มีการประดิษฐ์เครื่องมือชิ้นใหญ่ๆ เช่น เครื่องทอผ้า ผลิตภาชนะหุงต้มอาหาร ตลอดจนพัฒนาวิธีปรุงอาหารเป็นการอบ และการต้มกลั่น
                ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในดินแดนอื่น  เช่น ลุ่มน้ำสินธุของอินเดียโบราณและลุ่มน้ำหวางเหอของจีน  ก็เริ่มมีการเกษตรกรรมซึ่งมีการพัฒนาการของตัวเองขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และภูมิปะเทศของแต่ละพื้นที่ ซึ่งบางส่วนได้เคยกล่าวถึงแล้วในเรื่องพัฒนาการของสังคมมนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย
 โดยสรุปแล้ว การเกษตรทำให้ผู้คนตั้งหลักแหล่งอยู่กับที่ ไม่เร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ  เหมือนสมัยที่ล่าสัตว์ทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นชุมชน มีการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ และก่อสร้างที่อยู่อาศัยถาวรขึ้น


สิ่งแวดล้อมทางสังคม

สิ่งแวดล้อมทางสังคม
     สิ่งแวดล้อมทางสังคม  หมายถึง  สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา  และเป็นสิ่งที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์
ในด้านต่าง ๆ เช่น  สิ่งของเครื่องใช้  อาคารบ้านเรือน  ถนนหนทาง  รวมทั้งวัฒนธรรมและประเพณี
     ในแต่ละสังคมจะมีความแตกต่างระหว่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมหลายเรื่อง  ดังตัวอย่างเช่น  ความแตกต่างของ
สิ่งแวดล้อมทางสังคมระหว่างครอบครัวในเรื่องต่าง ๆ เช่น  จำนวนสมาชิก  การดำเนินชีวิต  อาชีพ  เชื้อชาติ  การ
นับถือศาสนา
2.  ภาวะประชากรกับสิ่งแวดล้อม
     ในแต่ละสังคมจะประกอบด้วยสมาชิกในสังคมนั้น ๆ สมาชิกในสังคมมีทั้งชายและหญิง  ตัวอย่างเช่น
          สมาชิกในครอบครัวของฉัน มี 4 คน  ได้แก่  พ่อ  แม่  ตัวฉัน  น้องสาว
          สมาชิกในโรงเรียนของฉัน  มีประมาณ 600 คน  มีคุณครูประมาณ 50 คน  นักเรียนชายและหญิง
ประมาณ 450 คน  เจ้าหน้าที่  นักการภารโรงและอื่น ๆ ประมาณ 50 คน
          จำนวนสมาชิกในครอบครัวและโรงเรียน  อาจจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ
ต่าง ๆ เช่น
               -  จำนวนสมาชิกในครอบครัวของผมเพิ่มขึ้น  เพราะคุณแม่คลอดน้องชาย
               -  จำนวนสมาชิกในโรงเรียนของผมเพิ่มขึ้น  เพราะโรงเรียนรับสมัครคุณครูเพิ่มขึ้น
               -  จำนวนสมาชิกในโรงเรียนของหนูลดลง  เพราะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จบการศึกษา
จากโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกในครอบครัวและโรงเรียนในภาวะที่ผิดปกติ  อาจมีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตได้  เช่น
          ถ้ามีจำนวนสมาชิกในบ้านมากเกินไป
               -  อาจจะทำให้บริเวณบ้านดูคับแคบ
               -  มีปัญหาในการใช้สถานที่ต่าง ๆ เช่น  ห้องน้ำ  ห้องนอน
          ถ้าในโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนมากเกินไป
               -  ทำให้มีห้องเรียนไม่เพียงพอ
               -  ครูจัดการเรียนการสอนไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
               -  มีปัญหาในการใช้บริการสถานที่ในโรงเรียน  เช่น  ห้องน้ำ  ห้องสมุด  โรงอาหาร
          ดังนั้น  การเปลี่ยนแปลงของภาวะประชากรในสังคมแต่ละแห่งนั้น  ควรมีภาวะที่สมดุลกับสิ่งแวดล้อม
ของสังคมนั้น ๆ จึงจำทำให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคมเป็นไปอย่างเหมาะสม
3.  การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและชุมชน     สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา  ไม่ว่าจะ
เป็นในครอบครัวหรือในชุมชนประกอบดด้วยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม  ซึ่งมีประโยชน์
ต่อการดำรงชีวิตของเรา ดังนั้นเราจึงต้องร่วมใจกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ให้คงอยู่  เพื่อให้ใช้ประโยชน์
ได้นาน ๆ
     การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ        
          -  ปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
          -  ร่วมใจกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า
          -  ให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
          -  หาสิ่งอื่นที่จะใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติบางประเภทมาใช้ประโยชน์แทน
          -  อื่น ๆ
     การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางสังคม       
          -  ช่วยกันดูแลรักษาสาธารณูปโภค  เช่น  ถนน  สะพาน  ให้อยู่ในสภาพดี
          -  ไม่ขีดเขียนหรือสลักชื่อหรือข้อความใด ๆ ลงบนสิ่งของที่เป็นของส่วนรวม
          -  ช่วยกันรักษาความสะอาดของสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน
          -  ทะนุบำรุงสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีคุณค่า  เช่น  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
          -  อื่น ๆ

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.3 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : 

อักษรเจริญทัศน์ .

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิศาสตร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ 
แนวคิด
ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งจของวิชาภูมิศาสตร์ที่มึ่งศึกษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและกระบวนการเปลี่ยนแผลงทางธรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก การศึกษาชาภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วให้เข้าใจปรากฎการณ์ต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกดียิ่งขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ ส่วนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาหาวิธีที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้สามารถสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด โดยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาพมีความสัพมันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศเกิดจากเศรษฐกิจหน่วยย่อยรวมกัน ดังน้น การศึกษาปัญหาเศรษฐกิจของสังคมหนึ่ง ๆ จำเป็นต้องพิจารณาระบบเศรษฐกิจที่เป็นส่วนร่วมและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลหรือแต่ละหน่วยผลิต ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหน่ยย่อย เพราะเศรษฐกิจหน่วย่อมย่อมมีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมและความเป็นไปของเศรษฐกิจระดับประเทศหรหือส่วนรวมของสังคม
สาระการเรียนรู้

1.ความหมายของภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาพื้นผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตผล และคน รวมทั้งการกระจายของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ หรือคือวิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์

2.เนื้อหาและโครงสร้างของวิชาภูมิศาสตร์

1. ภูมิศาสตร์ระบบ (Systematic Geography) ประกอบด้วยเนื้อหาสาระทางด้าน สภาพแวดล้อมหรือกายภาพส่วนหนึ่ง และบทบาทของมนุษย์ในการดัดแปลงปรับปรุง สภาพแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง ทั้งสองระบบย่อยนี้ต่างมีผลกระทบต่อกันและกันและแสดง ออกมาให้เห็นทางด้านพื้นที่ ในระบบกายภาพ เนื้อหาจะประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆ ที่รวมกันเป็นระบบสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น โครงสร้างทางธรณี ลักษณะอากาศ ดิน พืชพรรณ ตลอดจนสัตว์ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันทั่วไปใน ระดับอุดมศึกษา เช่น วิชาธรณีสัณฐาน ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับดิน อากาศวิทยา และอุทกภูมิศาสตร์ เป็นต้น ส่วนในระบบมนุษย์ ซึ่งในบางครั้งก็เรียกว่า ระบบสังคม หรือ ระบบวัฒนธรรม ก็ได้นั้น ประกอบด้วยปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และความเป็นอยู่ ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาในพื้นที่หนึ่ง และกลายเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์เอง เนื้อหาสาระจึงประกอบด้วย เรื่องราวต่าง ๆ เกือบทุกอย่างที่ไม่ใช่สภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ประชากร ระบบเศรษฐกิจ การอุตสาหกรรม การปกครอง และการค้า เป็นต้น

2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) คือ การเข้าถึงระบบเทศสัมพันธ์ (Spatial interaction)ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในการอธิบายผิวโลกที่มีมนุษย์อาศัยนั้น นักภูมิศาสตร์ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นขนาดต่างๆ กันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่นั้นมีหลายอย่าง โดยทั่วไปต้องรวมเอาปัจจัยทางด้านกายภาพและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน นักภูมิศาสตร์นิยมแบ่งภูมิภาคออกตามระบบอากาศ เช่น ภูมิภาคเขตร้อนชื้น ภูมิภาคเขตอบอุ่น และภูมิภาคเขตทะเลทราย เป็นต้น หรือแบ่งภูมิภาคตามกลุ่มวัฒนธรรม เช่น กลุ่มละติน-อเมริกัน หรือกลุ่มอาหรับ เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากคือการแบ่งพื้นที่ศึกษาตามรูปแบบการปกครอง คือ ยึดเอาเนื้อที่ของประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์ เพราะสะดวกในเรื่องข้อมูลภายในพื้นที่นั้น ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภูมิภาคออกตามบทบาทหน้าที่เด่นของพื้นที่นั้น เช่น ภูมิภาคของเมืองหรือเขตที่เมืองมีอิทธิพลต่อบริเวณรอบนอกตลอดจนเขตบริการ ต่าง ๆ อันจัดเป็นภูมิภาคขนาดเล็กแต่ก็มีประสิทธิภาพในการจัดพื้นที่ (Hartshorne, 1959)

3. เทคนิคต่างๆ (Techniques) เนื่องจากวิชาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจและ การบันทึกข้อมูลลงในแผนที่มาช้านาน หลักการทำแผนที่ตลอดจนศิลปะในการจัดรูปแบบข้อมูลต่างๆลงในแผนที่ได้กลายเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ ภูมิศาสตร์ เทคนิคทางวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นการคำนวณสร้างโครงข่ายแผนที่ในลักษณะต่างๆ ออกมาใช้ตามวัตถุประสงค์ ในขณะเดียวกันก็รักษาคุณสมบัติของผิวโลกที่จำลอง ไปไว้ในแผนที่ให้ใกล้เคียงความจริงที่สุดด้วย นอกจากประดิษฐ์แผนที่ด้วย โปรเจกชันแบบต่างๆ แล้ว ยังมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกราฟ กราฟแท่งหรือไดอะแกรม เป็นต้น ในสมัยปัจจุบันได้มีการผนวกเอาเทคนิคทางด้านปริมาณวิเคราะห์เข้ามาไว้ด้วย การรู้จักใช้วิชาสถิติในลักษณะต่างๆ ประกอบกันกับคอมพิวเตอร์ ได้ช่วยปรับปรุงวิธีการทางภูมิศาสตร์ให้เป็นที่เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น เทคนิคประการ

3.ภูมิศาสตร์กายภาพ
ภูมิศาสตร์กายภาพ ความหมายของวิชาภูมิศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ หรือการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับมนุษย์ ซึ่งได้มุ่งเน้นการศึกษาใน 2 องค์ประกอบคือ
3.1 ศึกษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติได้แก่ลักษณะของภูมิประเทศภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติโดยอาศัยแผนที่
3.2ศึกษากระบบการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก


ที่มา : https://wiki.stjohn.ac.th/

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 



     เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทให้ข้อมูลกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ มีดังนี้
1.             ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต
 
2.             ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล 

    1. แผนที่
        แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ
ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ลักษณะ คือ
  • ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เกาะ และป่าไม้ เป็นต้น
  • ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น  ถนน เขื่อน โรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น
     2. รูปถ่ายทางอากาศ
          รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน      หน่วยราชการที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม  
     3. ภาพจากดาวเทียม
         ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณภาพดาวเทียมลาดกระบัง ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เคยพึ่งพาต่างประเทศ  การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิง (Remote Sensing ) โดยดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ บนพื้นผิวโลก  จากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์มหรือภาพพิมพ์ต่อๆไป
     4. อินเตอร์เน็ต
         อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว จนทำให้โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุค การสื่อสารไร้พรมแดน”   บริการในอินเตอร์เน็ต (World Wind Web : WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือ ภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า เว็บเพ็จ” (Web Page)  มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทเครื่องมืออุปกรณ์

      อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้
      1. เข็มทิศ
          เข็มทิศเป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่าย ๆ โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้เข็มบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก   ต่อจากนั้นจึงนำเข็มทิศหันเข้าหาตำแหน่งที่ต้องการวัดมุม เช่น เสาธงโรงเรียน เข็มทิศก็จะบอกให้ทราบว่าเสาธงของโรงเรียนอยู่ในทิศใด และทำมุมกี่องศากับทิศเหนือแม่เหล็กโลก
      2. เครื่องมือวัดพื้นที่
          เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด
      3. เทปวัดระยะทาง
          เทปวัดระยะทาง ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่
      4. เครื่องย่อขยายแผนที่ 
          เครื่องย่อขยายแผนที่ ( patograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรอขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่จ้นฉบับ และมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉลับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรอขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง
      5. กล้องวัดระดับ 
          กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ
      6. กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป
          กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป  (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ

ระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ

                    ระบบเศรษฐกิจ ความหมายของระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ ( economic system ) หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ
 1.ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism) ระบบเศรษฐกิจนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง เลือกตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2.กำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจในการทำงานทำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
       ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน 2.ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัยากรในระบบเศรษฐกิจ 3.การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง
2.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ( communism ) ระบบเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจมักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับ จากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการของสังคมเป็นสำคัญ
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม 2.ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและปริโภคตามคำสั่งของรัฐ
       ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ 2.สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงทุนทรัพย์ในการผลิต 3.การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
 3.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( socialism ) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้เป็นระบบที่ใกล้เคียงกับระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้รัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามรัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ระบบกลไกราคามีผลอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคล 2.เอกชนมีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินได้บ้าง
       ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด 2.โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปได้อย่างลำบาก
4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ( mixed economy )ระบบเศรษกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบทุนนิยมและสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน
       ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว
       ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพสินอาจทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ 2.การที่รัฐสามารถเข้าแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด
   2.1 ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง   2.2ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย       
การพัฒนาเศรษฐกิจ หลักเกณฑ์การวัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ 1. รายได้ต่อบุคคล 2. คุณภาพของประชากร (ซึ่งวัดจากสถิติหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เช่น การศึกษา) การแบ่งกลุ่มประเทศโดยใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ 1. กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น 2. กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา 3. กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกาละตินอเมริกา และเอเซีย ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ 1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การสะสมทุนสูง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์และประชากรเหมาะสม 2. ปัจจัยทางการเมืองและสังคม เช่น เสถียรภาพทางการเมืองที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน ทฤษฏีการพัฒนาเศรษฐกิจ แบบดั้งเดิม (ค.ศ 1940-1960) • เชื่อว่าประเทศด้อยพัฒนาขาดแคลนทุน-เทคโนโลยี เน้นการแก้ปัญหาโดยรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการค้าเสรี-การลงทุนจากต่างประเทศ และซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคเอกชนและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ นอกจากนี้ยังเน้นการลดอัตราการเกิดของประชากร แนวคิดนี้ปรากฏแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ฉบับที่ 1-4 แบบใหม่ (ค.ศ. 1960-1980) • เน้นการสร้างความเจริญด้านอุตสาหกรรม ควบคู่กับการแก้ปัญหาการกระจายรายได้และความยากจนในชนบท และให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น สังคม วัฒนธรรม และการเมืองด้วย แนวคิดนี้ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยฉบับที่ 5-7 แบบพึ่งตัวเอง เน้นที่การพัฒนาประชากร และลดการพึ่งพิงประเทศพัฒนาแล้ว การก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NEW INDUSTRALIZED COUNTRIES, NICs) ปัจจัยที่ส่งเสริม เช่น การใช้ทุนและเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น และเน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น มีแรงงานมาก การประกอบการที่ดี มีธุรกิจแบบบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนได้มาก ๆ เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ มีประชากรที่มีคุณภาพ เกณฑ์ในการวัดความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ สัดส่วนสาขาเศรษฐกิจแบบหัตถอุตสาหกรรมเทียบกับ GDP ร้อยละ 20 ขึ้นไป สัดส่วนการจ้างงานในสาขาหัตถอุตสาหกรรม ร้อยละ 25 ขึ้นไป รายได้ต่อหัว 1,800 ดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป สัดส่วนของการออมต่อ GDP มากกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป ระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการผลิต มีการใช้เทคนิควิทยาการชั้นสูง ข้อผิดพลาดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 1. การมุ่งกิจการเพื่อศักดิ์ศรีของประเทศ หรือกิจกรรมที่ไม่ได้ใช้แรงงานที่มีอยู่ในประเทศ 2. การมุ่งสร้างสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความก้าวหน้าทางสังคม 3. การสร้างกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอุตสาหกรรม เช่นย้ายโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสารพิษมาตั้งในประเทศกำลังพัฒนา