วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิชาสังคมศึกษา


วิชาสังคมศึกษา

คำอธิบายสาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต

            ศึกษา วิเคราะห์  ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก และเห็นคุณค่า
ในเรื่องต่อไปนี้
            พลเมืองดี เกี่ยวกับ ความเป็นพลเมืองดี  การเป็นพลเมืองดีของสังคม และการเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ
            การเมืองการปกครอง เกี่ยวกับ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย  ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ  และความแตกต่างของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ
            คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับ คณะรัฐมนตรี  มาตรการที่สนับสนุนให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มาตรการป้องกันมิให้รัฐบาลใช้อำนาจแบบเผด็จการ และ การถ่วงดุลอำนาจระหว่างคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา
            การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและระบบศาล เกี่ยวกับ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  การถอดถอนออกจากตำแหน่ง    การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง   และระบบศาล
            กฎหมายในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย  กฎหมายที่ควรรู้  และหลักสิทธิมนุษยชน
            ภูมิปัญญาและประเพณีวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับ  ภูมิปัญญาไทย  ประเพณีวัฒนธรรมของไทย   วัฒนธรรมประเพณีและความแตกต่างในภาคต่างๆของไทย และ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านของไทย
            เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและสันติสุข



คำอธิบายสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์

            ศึกษาวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
            เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  ความสัมพันธ์ของเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
            การบริหารการจัดการทรัพยากร เกี่ยวกับ การผลิต   การบริการ  ทรัพยากร และการบริโภค
            ระบบเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ  ระบบเศรษฐกิจ   และระบบเศรษฐกิจภูมิภาคของโลก
            การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ  กลไกราคา  การควบคุมราคา  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย
            สถาบันการเงิน เกี่ยวกับ สถาบันการเงิน และ บทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร
            การพัฒนาเศรษฐกิจ  เกี่ยวกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  แผนพัฒนาประเทศของไทยในอนาคต    นโยบายและกิจกรรมของรัฐ    เศรษฐกิจพอเพียง   ระบบสหกรณ์   และโครงการบริษัทจำลอง เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์  การผลิตสินค้าและบริการการเลือกใช้ทรัพยากร  สิทธิ  การคุ้มครองผู้บริโภค  ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ  ระบบเศรษฐกิจภูมิภาคของโลก  กลไกราคา    การควบคุมราคา    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย บทบาทหน้าที่ขอองสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  นโยบายและกิจกรรมของรัฐ  เศรษฐกิจพอเพียง  ระบบสหกรณ์และโครงการบริษัทจำลอง
    



คำอธิบายสาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

            ศึกษาวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องต่อไปนี้
            การเวลากับประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์
            พัฒนาการของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆของโลก
            ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี เกี่ยวกับ   การสถาปนากรุงธนบุรี    การเมืองการปกครอง    ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
            ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   เกี่ยวกับ     การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์      การเมืองการปกครอง     ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
            ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูป   เกี่ยวกับ     การเมืองการปกครอง     ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง   เกี่ยวกับ   การเมืองการปกครอง     ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ    เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรม
ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์
บุคคลสำคัญสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์
            เพื่อให้รู้และเข้าใจความสำคัญของเวลาที่มีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ จนเข้าใจถึงขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการสืบค้นเรื่องราวในอดีต   ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและร่วมกันสร้างสรรค์ความเจริญให้กับประเทศชาติต่อไป



คำอธิบายสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์

            ศึกษาวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
            แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับแผนที่    ลูกโลก   และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
            ทวีปยุโรป  เกี่ยวกับ   ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ    สังคมวัฒนธรรมของทวีปยุโรปและความสัมพันธ์ระหว่างทวีปยุโรปกับประเทศไทย
            ทวีปอเมริกาเหนือ  เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือ และความสัมพันธ์ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับประเทศไทย
        ทวีปอเมริกาใต้   เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ    สังคมวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาใต้และความสัมพันธ์ระหว่างทวีปอเมริกาใต้กับประเทศไทย
        ทวีปแอฟริกา  เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ เรื่อง ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาด ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งท่องเที่ยว  ลักษณะเศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรมของทวีปแอฟริกาและความสัมพันธ์ระหว่างทวีปแอฟริกากับประเทศไทย
            เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์  ลักษณะทางภายภาพ   เศรษฐกิจ   สังคมวัฒนธรรมของทวีปยุโรป  ทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปอเมริกาใต้  ทวีปแอฟริกา รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างทวีปยุโรป  ทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปอเมริกาใต้  ทวีปแอ ฟริกากับประเทศไทย

หน้าที่พลเมือง

หน้าที่พลเมือง
       พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
      1. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
      2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
      3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
      4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
      5. การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
      6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
      7. ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ “คดในข้อ งอในกระดูก” นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
     8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองและมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อ มีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
         หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
         กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของสาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
  • ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น
            1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง 

            2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 
            3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ 
            4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวโรงเรียนและชุมชนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาขิกที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
            1. การเป็นสมาชิกที่ดีขอบครอบครัว 
            2. การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน 
            3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
            1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 
            2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 
            3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก 
            4. ความซื่อสัตย์สุจริต 
            5. ความสามัคคี 
            6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว 
            7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
            8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
2. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
3. ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
4. ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
5. การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
6. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วย โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
1. การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมมของศาสนา และหลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง
2. เผยแพร่ อบรม หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้านคนในสังคมให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน
3. สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการบอกเล่า เขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน
4. ชักชวน หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน
5. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของานรัฐในการสนับสนุนคนดี และกำจัดคนที่เป็นภัยกับสังคม การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ควรเป็นจิตสำนึกที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

หน้าที่พลเมือง

ขอขอบคุณรูปภาพประกอบ
ที่มา : http://www.thaistudyfocus.com
               

การปกครองของไทยในปัจจุบัน


            ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475


            แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามหลักการ มีการปฏิวัติรัฐประหารยึด อำนาจ ตั้งคณะรัฐบาลและกำหนดบทบัญญัติขึ้นเอง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ ใหญ่ขึ้นถึง 3 ครั้ง คือ


            ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการ อันประกอบไปด้วยประชาชน จากทุกสาขาอาชีพ ภายใต้การนำของนิสิต นักศึกษาจากทุกสถาบัน เป็นเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครองของไทย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ เกิดความหวงแหนและร่วมกันธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต และความยากลำบากของเพื่อนร่วมชาติ

เหตุการณ์ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านการกลับมาของกลุ่มอำนาจเก่า ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งไปเป็นจำนวนมาก

             และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 มีกลุ่มต่อต้านอำนาจเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยขึ้นอีก ผลจากการเรียกร้องในครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ มีดังนี้



           1. ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
           2 ตั้งเข้ามาทั้งหมด 
และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอ ขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี
        3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญญัติของกฏหมาย เพื่อให้เกิดความ ยุติธรรมแก่ประชาชน ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ศาลเป็นสถาบันอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย

 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย
 
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย
          ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แบ่งการบริหารราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ
         ๑. การบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอำนาจ คือให้อำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการขั้นสูงสุดอยู่ในส่วนกลาง โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม [รวมทั้งหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม เช่น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ] หน่วยงานเหล่านี้ปรกติจะตั้งอยู่ในส่วนกลาง คือกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
          ปัจจุบันการบริหารราชการส่วนกลาง มีดังนี้
  ระดับกระทรวง มี ๑๔ กระทรวง (รวมสำนักนายกรัฐมนตรี)
  ระดับทบวง  มี ๑ ทบวง
  ระดับกรม  มี ๑๓๖ กรม (ไม่รวมกรมต่าง ๆ ในกระทรวงกลาโหม และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากรม)

          ๒. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอำนาจ คือราชการส่วนกลางเป็นเจ้าของอำนาจ แล้วแบ่งอำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการให้แก่ภูมิภาคนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เป็นการลดขั้นตอนต่าง ๆ ลง และการปฏิบัติของภูมิภาคนั้นจะต้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของส่วนกลางหรือของรัฐบาลหรือตัวบทกฎหมายของประเทศ
          อนึ่ง อำนาจที่แบ่งให้นั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพอใจของส่วนกลาง และส่วนกลางแต่ละหน่วยก็แบ่งให้อาจไม่เท่ากัน เช่น บางกรมแบ่งการบริหารงานบุคคลให้ส่วนภูมิภาคแต่งตั้งโยกย้ายได้ตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๖ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา
          อำนาจที่แบ่งให้ไปนั้น ราชการบริหารส่วนกลางอาจจะเรียกกลับคืนเมื่อใดก็ได้
          การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๕ ระดับ คือ

          ๑. จังหวัด
          ๒. อำเภอ
          ๓. กิ่งอำเภอ
          ๔. ตำบล
          ๕. หมู่บ้าน

          กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคโดยอนุโลม ทั้งนี้ก็เพราะในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้กำหนดการบริหารส่วนภูมิภาคไว้เพียง ๒ ระดับ คือจังหวัดและอำเภอ แล้วได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘ อีกว่า "การปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่"
          กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ในปัจจุบันจัดการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรองลงมาจากอำเภอ ได้แก่ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงจัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคด้วย
          จังหวัด    มี    ๗๕      จังหวัด
          อำเภอ      มี    ๗๒๙     อำเภอ
          กิ่งอำเภอ  มี    ๘๑        กิ่งอำเภอ
          ตำบล       มี    ๗,๑๕๙  ตำบล
          หมู่บ้าน    มี   ๖๕,๑๗๐ หมู่บ้าน
          (ข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗)

          ๓. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจ คือส่วนกลางได้โอนมอบอำนาจระดับหนึ่งไปให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน กิจกรรมที่ท้องถิ่นทำได้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการพัฒนา และที่ว่า "ปกครองตนเองอย่างอิสระ" นั้น หมายถึงมีอิสระในการตัดสินใจต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาหรือการเสริมสร้างสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น เช่น ออกข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาบังคับประชาชนในเขตการปกครองของตนได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
          การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีรูปแบบดังนี้
          ๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อย่าสับสนกับจังหวัด)
          ๒. เทศบาล
          ๓. สุขาภิบาล
          ๔. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

                    ๔.๑ กรุงเทพมหานคร ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า "ให้กรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น..."  ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงไม่ใช้ "จังหวัด" ในความหมายของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
                    ๔.๒ เมืองพัทยา ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารเมืองพัทยา บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ว่า "...ให้เมืองพัทยาเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น...ดังนั้นเมืองพัทยาจึงมิใช่เทศบาล มิใช่สุขาภิบาล แต่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
                    ๔.๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ใหม่) ได้กำหนดให้สภาตำบลที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท โดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ติดต่อกัน ๓ ปี ให้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
          ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามที่กฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด อย่างสับสนกับ "ตำบล" ที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
          ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันที่เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดมี ๗๕ เทศบาล ๑๓๘ สุขาภิบาล ๑,๐๗๕ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา อย่างละ ๑ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่จัดตั้ง
ผู้เขียน : นายวิรัช  ถิรพันธุ์เมธี หัวหน้าภาควิชางานในหน้าที่ของปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง และกรรมการทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
ที่มา 
 :  http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=636